วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เตรียมสอบ ก.พ





สำหรับเพื่อนที่ เตรียมสอบ ก.พ นะครับ รวมข่าวสารการสอบ ก.พ และวิธีการทำ ข้อสอบ ก.พ
เรียนรู้ ก.พ รวมถึงเทคนิคการทำ ข้อสอบให้ผ่าน โดยรุ่นพี่ ข้อสอบราชการ ดอทคอม เจาะลึก ข้อสอบ พร้อมเทคนิคต่างๆ รวมข้อสอบที่ออกบ่อยที่สุด ให้ฝึกทำ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถสอบผ่านได้  เตรียมสอบ ก.พ 


เตรียมสอบ ก.พ 

ข่าวสอบ ก.พ


                                                                   วีดีโอเรียนรู้














 แนวข้อสอบ กพ




ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดนครพนม 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสกลนคร 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดมุกดาหาร 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดอุบลราชธานี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดหนองคาย 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดอำนาจเจริญ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดหนองบัวลำภู 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดศรีสะเกษ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดอุดรธานี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดยโสธร 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดเลย 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดกาฬสินธุ์ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดร้อยเอ็ด 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดมหาสารคาม 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสุรินทร์ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดขอนแก่น 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดบุรีรัมย์ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดเพชรบูรณ์ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดชัยภูมิ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดนครราชสีมา 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดเชียงใหม่ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัด-เชียงราย 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดพะเยา 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดลำพูน 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดน่าน 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดลำปาง 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดแพร่ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดอุตรดิตถ์ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดตาก 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดพิษณุโลก 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดกำแพงเพชร 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดพิจิตร 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดนครสวรรค์ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดอุทัยธานี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดชัยนาท 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดลพบุรี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสิงห์บุรี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดปราจีนบุรี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสระบุรี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดนครนายก 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดอ่างทอง 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดราชบุรี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสุพรรณบุรี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดอยุธยา 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสมุทรสงคราม 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสมุทรสาคร 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสระแก้ว 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดตราด 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดจันทบุรี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดระยอง 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดชลบุรี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดฉะเชิงเทรา 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดเพชรบุรี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดชุมพร 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดระนอง 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดนครศรีธรรมราช 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดพังงา 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดกระบี่ 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดตรัง 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดพัทลุง 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดภูเก็ต 
ติวข้อสอบ กพ. จังหวัดสงขลา



ตัวข้อสอบ

ข้อสอบอุปมา-อุปไมย 
1. กวาง : ควาย :: ? : ? 
ก. สุนัข : เสือ ข. สิงโต : แมว 
ค. ไก่ : เป็ด ง. แรด : หมี 
2. พู่กัน : จิตรกร :: ? : ? 
ก. ปาก : ครู ข. นกหวีด : กรรมการมวย 
ค. เข็มทิศ : นักเดินเรือ ง. มีด : พรานป่า 
3. เบรก : รถยนต์ :: ? : ? 
ก. โช้คอัพ : คาบิวเรเตอร์ ข. สติ : คน 
ค. จ๊อกกี้ : ม้าน้ำ ง. นักคิด : นักประดิษฐ์ 
4. ช่างตัดผม : กรรไกร :: ? : ? 
ก. โฆษก : วิทยุ ข. ช่างตัดเสื้อ : ผ้า 
ค. จราจร : นกหวีด ง. เภสัชกร : ยา 
5. อากาศ : เครื่องบิน :: ? : ? 
ก. อุกกาบาต : อวกาศ ข. แผ่นดิน : ไส้เดือน 
ค. ปากน้ำ : สันดอน ง. มหาสมุทร : เรือดำน้ำ 
6. มวย : ยก :: ? : ? 
ก. ฟุตบอล : ครึ่งเวลา ข. ปิงปอง : เซ็ต 
ค. รักบี้ : ครึ่งเวลา ง. แบดมินตัน : เซ็ต 
7. แกรนิต : หิน :: ? : ? 
ก. ปลาดุก : น้ำจืด ข. ผงชูรส : เกลือแร่ 
ค. แคลเซียม : ธาตุ ง. เรือ : น้ำทะเล 
8. สมุย : อังกฤษ :: ? : ? 
ก. สีชัง : จีน ข. ตะรูเตา : ญี่ปุ่น 
ค. ภูเก็ต : ฝรั่งเศส ง. เกาะช้าง : เยอรมัน 
9. อุบลราชธานี : แม่ฮ่องสอน 
ก. เชียงใหม่ : สงขลา ข. นราธิวาส : ตรัง 
ค. ขอนแก่น : พะเยา ง. กาญจนบุรี : กรุงเทพ 
10. น้ำเงิน : เหลือง :: ? : ? 
ก. อาทิตย์ : จันทร์ ข. พุธ : เสาร์ 
ค. อังคาร : พฤหัสบดี ง. ศุกร์ : จันทร์ 
11. วุฒิสมาชิก : กฎหมาย :: ? : ? 
ก. บริษัท : ผู้จัดการ ข. ปลา : น้ำ 
ค. ผู้ร้าย : ตำรวจ ง. ทหาร : ปฏิวัติ 
12. คน : ควาย :: ? : ? 
ก. ผึ้ง : ม้า ข. จาน : ช้าง 
ค. ลิง : เรือ ง. ระฆัง : งู 
13. ยูงทอง : ธรรมศาสตร์ :: ? : ? 
ก. ดอกคูณ : ศิลปากร ข. ศรีตรัง : เกษตรศาสตร์ 
ค. ตะแบก : เชียงใหม่ ง. จามจุรี : จุฬาลงกรณ์ 
14. การโฆษณา : การซื้อ :: ? : ? 
ก. การเลือกตั้ง : การหาเสียง ข. การป้องกัน : การเอาชนะ 
ค. ความเชื่อมั่น : ทัศนคติ ง. ความพยายาม : ความสำเร็จ 
15. ชี้ชวน : บังคับ :: ? : ? 
ก. สุจริต : ทุจริต ข. เจือจาง : เข้มข้น 
ค. วิจารณ์ : วิพากษ์ ง. หนาแน่น : เบาบาง 
16. ศาสนา : ชาติ :: ? : ? 
ก. บัว : ตะแบก ข. พุด : อัญชัญ 
ค. มะลิ : เข็มแดง ง. กุหลาบ : เบญจมาศ 
17. มอเตอร์ไซค์ : รถยนต์ :: ? : ? 
ก. จักรยาน : สามล้อ ข. รถเข็น : รถบรรทุก 
ค. คน : ควาย ง. เป็ด : ไก่ 
18. ป่วย : โรงพยาบาล :: ? : ? 
ก. หิว : ภัตตาคาร ข. แจ้งความ : ยาม 
ค. บวช : โบสถ์ ง. เรียน : วัด 
19. ประตู : หน้าต่าง :: ? : ? 
ก. ล้อ : รถยนต์ ข. ห้องนอน : บ้าน 
ค. โบสถ์ : ศาลา ง. นักเรียน : ครู 
20. ข้าวสาร : ข้าวเปลือก :: ? : ? 
ก. ข้าวต้ม : ข้าวสวย ข. โซดาไฟ : สบู่ 
ค. ขนมปัง : แป้งสาลี ง. เหล้า : ยีสต์ 
21. ต้นไม้ : มะขาม :: ? : ? 
ก. ปลา : ตะเพียน ข. องุ่น : ไม้เถา 
ค. สุนัข : แมว ง. อ้อย : หวาย 
22. เงินฝืด : เงินเฟ้อ :: ? : ? 
ก. เงินต้น : ดอกเบี้ย ข. ประมาท : รอบคอบ 
ค. นายทุน : เงินกู้ ง. คอมมิวนิสต์ : เผด็จการ 
23. มาเลเรีย : ยุง :: ? : ? 
ก. มะเร็ง : บุหรี่ ข. แมลงวัน : อหิวาตกโรค 
ค. สุนัขบ้า : โรคกลัวน้ำ ง. อาการคัน : เหา 
24. ลิขสิทธิ์ : การลอกเลียน :: ? : ? 
ก. หลักฐาน : นักสืบ ข. พยาน : โจทย์ 
ค. การตรวจสอบ : การปลอมแปลง ง. นักเขียน : หนังสือ 
25. ขาดประสบการณ์ : ความผิดพลาด :: ? : ? 
ก. พลาดพลั้ง : ทักษะ ข. ชัยชนะ : ความสำเร็จ 
ค. ความสะเพร่า : ความสูญเสีย ง. การประหยัด : การฝึกฝน 
26. หลอดภาพ : เสาอากาศ :: ? : ? 
ก. กาแฟ : เครื่องดื่ม ข. ไวโอลิน : เครื่องดนตรี 
ค. เครื่องมือ : การก่อสร้าง ง. เหงือกปลา : ครีบปลา 
27. เคร่งเครียด : สันทนาการ :: ? : ? 
ก. หิว : งานเลี้ยง ข. เกียจคร้าน : ความยากจน 
ค. อ่อนเพลีย : การพักผ่อน ง. เศร้าโศก : น้ำตา 
28. รัฐศาสตร์ : สังคมศาสตร์ :: ? : ? 
ก. เศรษฐศาสตร์ : สังคม ข. เคมี : วิทยาศาสตร์ 
ค. ชีววิทยา : พฤกษศาสตร์ ง. นิติศาสตร์ : แพทย์ศาสตร์ 
29. ประธานสภาผู้แทนราษฎร : สส. :: ? : ? 
ก. กำนัน : ผู้ใหญ่บ้าน ข. ผู้อำนายการกอง : หัวหน้าฝ่าย 
ค. ผู้จัดการ : รองผู้จัดการ ง. กกต. : ศาลรัฐธรรมนูญ 
30. เครื่องบิน : อากาศ :: ? : ? 
ก. เรือรบ : ลูกเรือ ข. นก : กรง 
ค. ปลา : น้ำ ง. ป่า : ต้นไม้



เทคนิค การทำข้อสอบ กพ


1. ถามประโยคสำคัญดูคำต่อไปนี้ ทำให้ ปรากฏ เกิดขึ้น เกิดจาก บรรลุผล สำเร็จตามเป้าหมาย แต่  หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำเหล่านี้ (ทำให้ + ประโยคสำคัญ) กรณีที่บทความสั้นมีคำกริยาสำคัญอยู่หลายคำที่ซ้ำกันให้ดูกริยาตัวสุดท้าย เช่นถ้ามีคำว่าทำให้อยู่หลายตัว ให้ดูคำว่าทำให้ตัวสุดท้าย (ถ้าในบทความมีคำว่า “เพราะ” มากกว่าหนึ่งคำให้ดูคำว่า “เพราะ” ตัวแรก ถ้ามีคำว่า “ทำให้” หรือกริยาสำคัญตามข้อ 1 นี้ ให้ดูคำว่า ”ทำให้” หรือ กริยาสำคัญ ตัวสุดท้าย ถ้ามีคำว่า ”เพราะ” และคำว่า “ทำให้” อยู่ในบทความเดียวกันให้ดูคำว่า “ทำให้” หลังคำพวกนี้คือคำตอบ
2. ถามจุดประสงค์ของบทความดูคำต่อไปนี้ เพื่อ สำหรับ  (เพื่อ + จุดประสงค์) คำว่า เพี่อ หรือ สำหรับ ถ้าอยู่ท้ายประโยคจะสำคัญ และสามารถนำประโยคที่อยู่ท้ายคำว่าเพื่อมาตอบได้ 
3. เปลี่ยน เปลี่ยนเป็น แทน กลาย กลายเป็น แทนที่ ให้ความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งสู่สิ่งหนึ่ง ถ้ากลุ่มคำนี้อยู่ในบทความ ในข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำกลุ่มนี้ด้วยและคำนามสำคัญจะอยู่หลังคำกลุ่มนี้ การตอบให้มีคำนามตัวนี้ด้วยเช่นกัน
4. ถ้าในบทความมีคำว่าจำเป็นหรือคำว่าไม่จำเป็น ข้อที่ถูกอาจบอกว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ได้ รวมทั้งคำว่า
เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ข้อที่ถูกจะมีคำว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
5. ถ้า หาก ให้ความหมายเป็นประโยคเงื่อนไข (ถ้า + ประโยคเงื่อนไข) พิจารณาข้อเลือกมีคำกลุ่มนี้หรือไม่
  -  ไม่มีคำกลุ่มนี้ ถือว่าข้อความนั้นเป็นเพียงส่วนขยายให้ตัดออก
- มีคำกลุ่มนี้การตอบให้เน้นเงื่อนไขในบทความ
- ถ้ามีคำว่า “ ถ้า “ “ หาก” อยู่ในบทความ ถ้าในข้อเลือกมีคำพวกนี้อยู่ด้วยให้ตอบข้อนั้นได้เลย แต่ถ้าไม่มีคำว่า “ถ้า “ “หาก” อยู่ในบทความแต่ในข้อเลือกมี ข้อเลือกนั้นผิดทันที
6. น้อยกว่า มากกว่า ต่ำกว่า สูงกว่า (กลุ่มคำแสดงการเปรียบเทียบขั้นกว่า) ถ้ากลุ่มคำนี้อยู่ในบทความ ในข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำกลุ่มนี้ด้วย หากมีคำเปรียบเทียบมากกว่า 1 ข้อเลือก พิจารณาว่าบทความเป็นการเปรียบเทียบเรื่องใด และจะต้องเป็นเรื่องเดียวกับข้อเลือกที่ถูกต้อง หากไม่มีในบทความแต่ในข้อเลือกมี ข้อนั้นผิดทันที
7. ทั้งหมด ทั้งสิ้น สิ่งแรก สิ่งเดียว อันเดียว เท่านั้น ที่สุด ยกเว้น นอกจาก เว้นแต่ (กลุ่มคำที่เพื่อต้องการเน้นปริมาณทั้งหมด) หากบทความมีคำกลุ่มนี้ ในตัวเลือกที่ถูกต้องจะต้องมีคำกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน หากบทความไม่มีคำกลุ่มนี้ แต่ในข้อเลือกกลับมีคำกลุ่มนี้ถือว่าข้อเลือกนั้นผิดทันที (อย่าตอบข้อเลือกที่เน้นเจาะจง ถ้าในบทความไม่มี เช่น ที่สุด เฉพาะ เท่านั้น 
8. เพราะ เนื่องจาก (เพราะ + ประโยคเหตุผล) เน้นการเปลี่ยนประโยคจากเพราะ เนื่องจาก เป็นประโยคทำให้ ข้อสอบเน้นการตอบประโยคสาเหตุ + นามสำคัญ (ประธาน) ถ้าบทความมีความว่าเพราะอยู่หลายที่ ให้ดูคำว่าเพราะตัวที่หนึ่ง ถ้าบทความมีคำว่าเพราะและกริยาสำคัญเช่นคำว่าทำให้ ให้ดูที่คำว่าทำให้
9. ตระหนัก คำนึง (ตระหนัก + ถึง คำนึง + ถึง) นามที่อยู่ข้างหลังตระหนัก + ถึง จะต้องเป็นนามสำคัญรองจากประธาน และคำนามนี้จะต้องอยู่ในข้อเลือกที่ถูกต้อง
10.  แต่ ทั้ง ๆ ที่ อย่างไรก็ตาม แม้…..แต่ ไม่…….แต่ (แต่ + ประโยคขัดแย้ง) ถ้าเป็นบทความสั้น แต่ + ประโยคสำคัญ ถ้าเป็นบทความยาว แต่ + ใกล้ประโยคสำคัญ
11.  ถามหาทรรศนะผู้เขียน ดูคำว่า ควร ควรจะ อาจ อาจจะ น่า น่าจะ คิด คิดว่า คาด คาดว่า 
เชื่อว่า แนะ เสนอ ศักยภาพ เสนอแนะ แนะนำ ความสามารถ ใช้กับข้อสอบที่ถามว่า ผู้เขียนคิดอย่างไร จุดประสงค์ของผู้เขียน เป้าหมายของผู้เขียน จุดประสงค์ของบทความ ความต้องการของผู้เขียน กลุ่มคำทรรศนะส่วนมากจะวางไว้ท้ายบทความ ท้ายคำกลุ่มนี้ + ประเด็นสำคัญ
12. เปรียบเสมือน เปรียบเหมือน เสมือน ดุจ ประดุจว่า (กลุ่มคำแสดงการเปรียบ อุปมา อุปมัย) ข้อสอบจะเน้นบทความเชิงเปรียบเทียบอุปมา อุปมัย เช่นเปรียบเทียบเปลือกไม้กับชนบท ในการตอบให้เอาส่วนท้ายของบทความมาเป็นจุดเน้น
13. ดังนั้น เพราะฉะนั้น จึง ดังนั้น + นามสำคัญ+จึง (ดันนั้น + ข้อสรุป จึง + ข้อสรุป) คำที่อยู่หลังคำกลุ่ม1นี้จะต้องเป็นข้อสรุปของบทความ และสามาถนำเอาคำที่อยู่หลังกลุ่มนี้มาตอบ ส่วนมากจะใช้กับคำถามประเภทสาระสำคัญ ใจความสำคัญ หรือสรุป
14. พบ พบว่า ต้องการ ปรารถนา (พบว่า + นามสำคัญ) คำที่อยู่หลังกลุ่มนี้จะเป็นสาระสำคัญ ส่วนมากแล้วจะพบตอนต้นของบทความ
15. ผลต่อ ผลกระทบ ส่งผลต่อ อิทธิพลต่อ เอื้ออำนวยต่อ (ผลต่อ + นามสำคัญ) คำนามที่อยู่หลังคำกลุ่มนี้จะเป็นนามสำคัญรองจากประธาน พิจารณาว่าในข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำนามนี้ พบมากตอนท้ายของบทความ(ถ้ามีคำเหล่านี้อยู่ในคำตอบข้อไหนข้อนั้นมีโอกาสถูก 60%
16. ทั้ง……..และ และ ระหว่าง…….กับ กับ (กลุ่มคำที่มีคำนามสำคัญ 2 ตัว) การตอบข้อเลือกที่ถูกต้องจะมีคำนามทั้ง 2 ตัว ข้อสอบส่วนมากจะมีส่วนขยายที่ยาว ให้ตัดส่วนขยายออก และถือว่านามทั้ง 2 ตัวเป็นนามสำคัญ
17. นับว่า ถือว่า เรียกว่า อันนับว่าเป็น ถือได้ว่าเป็น (กลุ่มคำที่วางประธานไว้ท้ายบทความ) คำกลุ่มนี้ + ประธาน (นามสำคัญ) จะวางไว้ตอนท้ายบทความ ในการตอบให้เน้นประธาน หรือนามสำคัญตัวนี้
18. นอกจาก……แล้วยัง……….., นอกจาก…..ยังต้อง…., ไม่เพียงแต่….แล้วยัง…., (กลุ่มคำที่ให้ความหมายนอกเหนือจากที่กล่าวมาหรือมีความหมายหลายอย่าง) การตอบให้ตอบในลักษณะไม่ได้มีเพียงอย่างเดียว มีหลาย ๆ อย่าง มีทั้งสองอย่าง หรือ การตอบตามโครงสร้างไวยากรณ์ โดยเน้นประโยคหลังคำว่า แล้วยัง ยังต้อง
19. บาง บางสิ่ง บางอย่าง บางประการ ประการหนึ่ง จำนวนที่ไม่ใช่ทั้งหมด (กลุ่มคำเพื่อต้องการเน้นปริมาณไม่ใช่ ทั้งหมด) หากคำเหล่านี้อยู่ในตัวเลือกใด ส่วนมากจะถูกต้อง แต่หากมีคำเหล่านี้หลายตัวเลือกให้พิจารณาคำเหล่านี้ทำหน้าที่ขยายคำนามตัวใดในตัวเลือกต้องขยายคำนามตัวเดียวกัน
20. โดยเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (กลุ่มคำเพื่อใช้เน้น) หากคำกลุ่มนี้รวมกับคำนามตัวเดียว หมายถึงการเน้นเพื่อใช้ตอบคำถาม แต่ถ้ารวมกับคำนามหลายตัว หมายถึงยกตัวอย่างสามารถตัดออกได้
21. เช่น ได้แก่ อาทิ (กลุ่มคำที่ยกตัวอย่าง) หากมีกลุ่มคำนี้ในบทความหมายถึงตัวอย่างให้ตัดออก แต่บางกรณีที่สามารถตอบตัวอย่างได้ แต่ต้องกล่าวถึงตัวอย่างให้ครบทุกตัว 
22. เป็นที่น่าสังเกตว่า สังเกตว่า อย่างไรก็ตาม (กลุ่มคำที่ต้องการเน้นการขึ้นย่อหน้าใหม่(พิเศษ)) ข้อความหรือนามที่อยู่หลังกลุ่มนี้สามารถนำไปตอบได้ ส่วนมากเน้นขึ้นต้นย่อหน้าซึ่งบอกความหมายว่าย่อหน้านั้นเป็นย่อหน้าพิเศษ (มีคำถามซ้อนอยู่)
23. ที่ ซึ่ง อัน เพื่อ ใน โดย ด้วย สำหรับ ของ จาก ตาม (กลุ่มคำนี้เป็นส่วนขยาย) หากกลุ่มคำนี้อยู่กลางประโยคถึงเป็นส่วนขยายสามารถตัดออกได้ แต่มีบางคำเช่น เพื่อ สำหรับ จะต้องพิจารณาตำแหน่งของคำ (ดูข้อ 2)
24. ประธาน+เป็น ,นับเป็น, ถือเป็น, (กลุ่มคำที่ใช้หาประธาน) ใช้เมื่อบทความให้หาประธานแบบง่าย หรือข้อสอบเรียงประโยค โดยส่วนมากแล้วการหาประธานในบทความจะหาได้จากคำนามในข้อเลือกที่ซ้ำ ๆ หรือหาได้จากการกล่าวซ้ำคำนามตัวเดิมในประโยคที่สอง
25. ที่สำคัญอย่างเอาตัวอย่างในบทความมาตอบเด็ดขาด 
รูปแบบของข้อสอบบทความสั้น
รูปแบบที่ 1 ประโยคสอดคล้อง ตีความประโยค ไม่สอดคล้อง ตีความไม่ถูกต้อง มีประมาณ 5 ข้อ
    รูปแบบนี้ไม่จำเป็นต้องหาประธาน โดยสามารถตีความจากข้อต่าง ๆ ตามข้างบนได้
รูปแบบที่ 2 สรุปใจความสำคัญ หาประธาน ตัดตัวเลือกที่ไม่มีประธาน เหลือไว้เฉพาะที่มีประธานเท่านั้น 
  อ่านและขีดเส้นใต้คำที่สำคัญข้างต้น ประธาน + คำที่สำคัญ คือคำตอบ
รูปแบบที่ 3  เรื่องย่อย ๆ
1. ข้อความข้างต้นกล่าวถึงเรื่องใด ทำเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 2 (ออกครั้งละ 1 ข้อ)
2. ข้อความข้างต้นผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร หรือจุดประสงค์ของบทความ ทำโดยใช้กลุ่มคำภาษาแสดงทรรศนะ (ข้อ 8) ส่วนมากภาษาแสดงทรรศนะจะแสดงไว้ท้ายบทความ
3. ข้อความข้างต้นกล่าวไว้กี่ประเด็น (ข้อสอบจะตอบ 2 ประเด็นทุกครั้ง)
4. ข้อสอบให้แยกความแตกต่างของคำในพจนานุกรม เช่น เรื่องเม็ด กับเมล็ด
5. ความแตกต่างของคำศัพท์ เช่นให้ความหมายของที่วัด ที่กัลปนา แต่ถามความหมายของธรณีสงฆ์
6. ข้อสอบให้บริบทมาและศัพท์ที่ขีดเส้นใต้ แล้วถามความหมายของศัพท์โดยการแปลจากบริบทข้างเคียง
7. ข้อสอบให้ความหมายของศัพท์แต่ให้หาคำจำกัดความ
8. การหาประโยคที่มีความหมายหรือโครงสร้างประโยคที่เหมือนกัน
 ทฤษฎีบทความยาว 
อ่านคำถามก่อนที่จะอ่านบทความ ในขณะที่อ่านให้ขีดเส้นใต้คำนาม คำนามเฉพาะ ตัวเลข หรือคำที่สามารถจดจำง่ายแล้ว
1. ทำการค้นหา 
1.1 หากบทความยาวมาก 10 – 12 บรรทัด (3-4ย่อหน้า) ให้ค้นหาคำที่เราขีดเส้นใต้ไว้
1.2 หากบทความยาวพอสมควร 5-6 บรรทัดให้อ่านอย่างคร่าว ๆ เมื่อพบคำที่ขีดเส้นใต้แล้วให้อ่านอย่างจริงจัง
2. ข้อสอบให้ตั้งชื่อเรื่อง
2.1 หาประธานของบทความ โดยดูจากตัวเลือกว่าคำใดที่ซ้ำกันมากที่สุดและคำนามในประโยคแรกของย่อหน้าแรก
2.2 ดูประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า รวมกับประโยคสุดท้ายของย่อหน้าสุดท้ายเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่
2.3 นำข้อ 2.1 และ 2.2 มาพิจารณารวมกันอีกครั้ง
3. ข้อสอบถามสาระสำคัญของบทความ
3.1 หาประธาน (ทำเหมือนกับข้อ 2.1)
3.2 หาคำที่สำคัญ (ทำเหมือนบทความสั้น)
4. ข้อสอบถามจุดประสงค์ของผู้เขียน (บทความจะกล่าวเชิงลบ)
4.1 หาสาระสำคัญของบทความ
4.2 เอาสาระสำคัญมาเปลี่ยนแปลงจากเชิงลบให้เป็นเชิงบวก
4.3 บทความอาจจะมีคำว่า เพื่อ สำหรับ วางไว้ท้ายบทความ( เพื่อ สำหรับ ให้บอกจุดประสงค์ของบทความ)
5. ข้อสอบถามความหมายของคำศัพท์
5.1 ดูบริบทที่มาขยายของศัพท์คำนั้น
5.2 ถ้าศัพท์เป็นคำกริยา ให้ดูคำนาม ถ้าศัพท์เป็นคำนามให้ดูกริยา
5.3 แปลรากศัพท์ของคำนั้น ๆ
6. ข้อสอบถามข้อใดถูกต้อง หรือ ไม่ถูกต้อง ให้ทำเหมือนกับข้อ 1 คือขีดเส้นใต้คำนาม คำนามเฉพาะ ตัวเลข หรือคำที่สามารถจดจำง่าย แล้วทำการค้นหา  
รูปแบบของข้อสอบข้อบกพร่องทางภาษา 
รูปแบบที่ 1 คำหรือกลุ่มคำที่ฟุ่มเฟือยหมายความว่ามีคำหรือกลุ่มคำที่มีความหมายเดียวกันตัดออกไปแล้ว  
  1 ชุดยังให้ใจความเหมือนเดิม
รูปแบบที่ 2 กำกวม หมายความว่า ประโยคหรือข้อความนั้นสามารถตีความได้มากกว่า 1 ประเด็น
แบ่งเป็น 3 กรณี
1. กำกวมที่เกิดจากคำประสม เช่นข้าวเย็น
2. กำกวมที่เกิดจากการวางวลีบอกจำนวน บอกเวลา ส่วนขยายไว้ท้ายประโยค
3. กำกวมเกิดจากการให้ความหมายของคำที่ขัดแย้ง











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น